คอร์ดกีต้าร์พื้นฐานที่จับง่ายๆ
คลิปวีดีโอสอนการเล่นกีต้าาร์ พื้นฐานการจับคอร์ดกีต้าร์ และการตีคอร์ด
สอนพื้นฐานการจับคอร์ดกีต้าร์ และการฝึกจังหวะการตีคอร์ด สอนโดยหมู คาไล
เทคนิคและพื้นฐานการเล่นคอร์ดสายเปิด (Open Form) สอนโดย อ.แดง
การฝึกจับคอร์ด Close form หรือคอร์ดทาบ หรือบาร์คอร์ด (Bar chord) สอนโดย อ.แดง
ต่อ ...
สอนเกากีตาร์พื้นฐาน (Basic Fingering Guitar) by WHIN
ตารางคอร์ดกีต้าร์ ตัวโน๊ตบนคอกีต้าร์
คอร์ดกีต้าร์ คอร์ดคืออะไร? เรามาทำความรู้จักกับคอร์ดกัน…
คอร์ดหมายถึงกลุ่มของเสียงตัวโน๊ตที่ประกอบกันขึ้นตั้งแต่สามเสียงขึ้นไป โดยแต่ละคอร์ดก็จะมีชื่อเรียกประจำตัวของมันเอง โดยจะมีหลักที่ใช้ในการสร้างคอร์ด และตั้งชื่อให้กับคอร์ดนั้นๆ เช่นคอร์ด C ก็จะประกอบไปด้วยโน๊ต C – E – G เป็นต้น (อ่านต่อด้านล่างในหัวข้อโครงสร้างของคอร์ด)
รูปตัวอย่างคอร์ด C แสดงถึงตัวโน๊ต และตำแหน่งการวางนิ้วจับคอร์ดของคอร์ด C
คอร์ดกีต้าร์ คอร์ดหลักๆที่สามารถพบได้บ่อยๆ คอร์ด Major และ Minor
โดยหลักๆแล้วเราสามารถแบ่งคอร์ดที่สำคัญ และพบได้บ่อยๆ ออกได้เป็นสองทางหลักๆก็คือ คอร์ดทางเมเจอร์(Major) และคอร์ดทางไมเนอร์(Minor) (คอร์ดไม่ได้มีแค่เมเจอร์ และไมเนอร์เท่านั้นนะครับ ยังมีคอร์ดแบบอื่นอีกมากที่แตกแขนงต่อจากคอร์ดเมจอร์และไมเนอร์ เช่นคอร์ดเซเว่น(7) คอร์ดเมเจอร์เซเว่น(maj7) คอร์ดไนน์(9) เป็นต้น แต่จะพูดถึงและยกตัวอย่างคอร์ดหลักๆที่พบได้บ่อยๆก่อน )
คอร์ดทาง Major เช่นคอร์ด C, D, E, F ซึ่งจริงๆแล้วจะมีคำว่า “major” ต่อท้ายชื่อคอร์ดเอาไว้ เช่นคอร์ด C จะเขียนเละเรียกเต็มๆว่า “Cmajor” (ซีเมเจอร์) แต่เวลาเขียนชื่อคอร์ดส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่เขียนคำว่า “major” เอาไว้ ดังนั้นเวลาเจอคอร์ด ไม่ว่าจะเป็นคอร์ด C หรือ Cmajor ให้จำไว้ว่ามันคือคอร์ดเดียวกัน แต่ส่วนมากจะเขียนและเรียกสั้นๆว่า “คอร์ด C” แค่นั้น
คอร์ดทาง Minor เช่นคอร์ด Am, Bm, Cm, Dm สังเกตว่าจะมีตัวเอ็มเล็ก “m” ต่อท้าย ซึ่งก็แทนคำว่า “Minor” นั้นเอง เช่นคอร์ด Em ก็จะอ่านว่า “อีไมเนอร์”, คอร์ด Am ก็จะอ่านว่า “เอไมเนอร์” ดังนี้เป็นต้น
Tip1: การที่จะสังเกตว่าคอร์ดนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์นั้น ให้ดูว่ามีตัว m (เอ็มเล็ก) ต่อจากชื่อคอร์ดหลักหรือไม่ ตัวอย่างเช่นคอร์ด Cm7,Am7 มีก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางไมเนอร์, คอร์ด C7,Csus4 ไม่มี m (เอ็มเล็ก)ต่อจากชื่อคอร์ดหลัก ก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ รู้แล้วจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ละ? ดู tip2 ต่อครับ
Tip2: การเล่นคอร์ดในเพลงจริงๆนั้น บางเพลงอาจจะมีคอร์ดที่จับอยาก หรือคอร์ดที่เราไม่เคยจับมาก่อน ไม่รู้ว่าจะต้องจับคอร์ดนั้นยังไง เราก็จับเป็นคอร์ดหลักแทน เช่น คอร์ด Csus2 เราก็จับ คอร์ด C แทน, คอร์ด Bm9 เราก็จับคอร์ด Bm แทน (บางท่านอาจจะ งง ว่าทำไมคอร์ด Bm9 ถึงไม่จับคอร์ด B แทนละ ทำไมถึงเป็น Bm ก็เพราะว่าคอร์ด Bm9 เป็นคอร์ดทางไมเนอร์นั้นเอง(สังเกตุจาก tip1ที่ผ่านมา) การจะใช้คอร์ดหลักแทนนั้นต้องใช้ให้ถูกต้องนะครับ ต้องรู้ว่าคอร์ดที่เราจะจับแทนนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์ เพราะว่าอารมณ์ของเสียงเมเจอร์กับไมเนอร์นั้นแตกต่างกันมากเลยทีเดียว)
ข้อแนะนำ Tip2 นี้แนะนำให้ใช้กับคนที่กำลังหัดเล่นหรือว่ายังจับคอร์ดที่จับยากๆยังไม่เป็นเท่านั้น ทางที่ดีควรจะจับให้ถูกต้องตามคอร์ดของเพลง จะได้เข้าถึงอารมณ์ของเพลงตามที่ผู้แต่งได้ถ่ายทอดไว้ในบทเพลงนั้นๆ และบางคอร์ดนั้นก็มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่สามารถที่จะแทนได้ด้วยคอร์ดหลัก.
โครงสร้างของคอร์ด
ก่อนจะเข้าเรื่องโครงสร้างของคอร์ด เรามาทำความรู้จักกับ Major Scal “เมเจอร์สเกล” กันก่อน
เมเจอร์ สเกล นั้นถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของสเกลอื่นๆ โดยทุกสเกลจะสร้างขึ้นมาโดยยึดหลักโครงสร้างพื้นฐานมาจากเมเจอร์สเกลเสมอ ดังนั้น เมเจอร์สเกลจึงถือเป็นแม่แบบของสเกลอื่นๆทั้งหมด รวมถึงการสร้างคอร์ดอีกด้วย
โครงสร้างของของเมเจอร์สเกลนั้นคือ
โน้ตตัวที่ [ 3 กับ 4 ] และ [ 7 กับ 8 ] จะห่างกันแค่ครึ่งเสียง ส่วนโน้ตตัวอื่นจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม
(ดูโครงสร้างของเมเจอร์สเกลได้จากรูปด้านล่าง)
โครงสร้างของเมเจอร์สเกล
ตัวอย่าง คอร์ดเมเจอร์ (Major)
หลักในการสร้างคอร์ดเมเจอร์ก็จะยึดเอาโครงสร้างของเมเจอร์สเกลมาใช้ในการสร้างคอร์ด เช่นคอร์ด C ก็จะประกอบไปด้วยโน้ตตัวที่ 1-3-5 ของ C Major Scal = [C] – D - [E] – F - [G] – A – B ดังนั้นคอร์ด C ก็จะประกอบด้วยตัวโน้ต C – E – G ดังนี้เป็นต้น
ส่วน Minor Scale สูตรโครงสร้างของ Minor Scale ก็คือลดเสียงของโน้ตตัวที่ 3, 6 และ 7 ของเมเจอร์สเกล ลงครึ่งเสียง(ดูโครงสร้างของไมเนอร์สเกลได้จากรูปด้านล่าง)
โครงสร้างของไมเนอร์สเกล
(เครื่องหมายแฟล็ต Flat : (b) หมายถึงลดเสียงลงครึ่งเสียง, เครื่องหมายชาร์ฟ Sharp : (#) หมายถึงเพิ่มเสียงขึ้นครึ่งเสียง)
ตัวอย่าง คอร์ดไมเนอร์ (Minor)
หลักการในการสร้างคอร์ดไมเนอร์นั้นก็จะยึดจาก Major Scale เหมือนกัน(อย่าเพิ่ง งงนะครับ) เช่นคอร์ด Cm ก็จะประกอบไปด้วยโน้ตตัวที่ 1-b3-5 ตามสูตรโครงสร้างของคอร์ดไมเนอร์(b3 หมายถึงลดเสียงโน๊ตตัวที่ 3 ของ Major Scal ลงครึ่งเสียง) เพราะการเขียนสูตรโครงสร้างจะยึดจาก Major Scale(สูตรในการเขียนโครงสร้างของคอร์ดนั้นจะยึดจาก Major Scale เสมอ) ซึ่งโน๊ตในคอร์ด Cm ก็คือโน๊ตตัวที่ 1-3-5 จาก C Minor Scal นั้นเอง ซึ่ง C Minor Scal = [C] – D - [Eb] – F - [G] – Ab – Bb ดังนั้นคอร์ด Cm ก็จะประกอบด้วยตัวโน้ต C – Eb – G ดังนี้เอง
จากตัวอย่างที่ได้อธิบายผ่านมา คงพอทำให้เข้าใจถึงโครงสร้างของคอร์ดหลักๆอย่าง คอร์ดเมเจอร์ และคอร์ดไมเนอร์กันไปบ้างแล้ว คราวนี้เรามาดูโครงสร้างของคอร์ดอื่นๆที่มักจะพบเจอในเพลงต่างๆกันบ้าง จะได้เข้าใจถึงโครงสร้างของคอร์ดแต่ละคอร์ด และนำไปใช้ในการฝึกฝนและเล่นกีต้าร์ต่อไป.
(สูตรโครงสร้างของคอร์ดยึดจาก Major Scale)